In this current time, it comes as no surprise that our world is revealing more and more “gaps”, especially the “digital gaps” in the field of education. There are many countries that have been adapting their measures to keep up with the evolving situation. In this post, we will take you to see different approaches taken by 4 countries that have effectively contribute to the process of learning, both for the teachers and students. These approaches include free equipment lending, student loan, hybrid classroom, educational online application, government-led teaching platform, an inclusive learning platform for the disabled etc.

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทุกประเทศต่างมุ่งเน้นไปที่การเตรียมการทางการแพทย์ การพัฒนาวัคซีน และการให้ความสำคัญกับการรักษาโรค อย่างไรก็ตาม ภาคการศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ วันนี้จึงขอพา X-Ray แนวนโยบายและมาตรการเรียนที่บ้าน (Learn From Home) จากตัวอย่างประเทศที่น่าสนใจจำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ อิตาลี อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

อิตาลี

อิตาลีได้มีการจัดการศึกษาแบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านการใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ประเภทต่างๆ เช่น CISCO, Zoom, Skype, และ Microsoft TEAMS ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบเหตุผลความไม่พร้อมของการเรียนออนไลน์รายบุคคล โดยหากนักเรียนที่ไม่เข้าเรียนออนไลน์ด้วยเหตุผลจากการขาดแรงจูงใจในการเรียนแบบออนไลน์จะมีการโทรศัพท์ และส่ง E-mail เตือนผู้ปกครอง หากนักเรียนไม่เข้าเรียนออนไลน์เพราะขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนแบบออนไลน์ ทางโรงเรียนต้องจัดสรรแล็บท็อป และแท็ปเล็ตไว้ที่โรงเรียน เพื่อให้สามารถยืมได้ฟรี รวมถึงหากนักเรียนไม่เข้าเรียนออนไลน์ เนื่องจากเหตุผลด้านอินเทอร์เน็ต โรงเรียนจะต้องเตรียมซิมสำหรับโทรศัพท์ เพื่อให้ยืมสำหรับใช้ภายในครอบครัว

 

อินเดีย

กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ Minister of Human Resource Development (MHRD) ของอินเดีย สนับสนุนการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลและแอปพลิเคชั่นรูปแบบต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นที่ต้องใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเร็วอินเทอร์เน็ตของนักเรียนบางกลุ่ม เช่น
.
SHAGUN Online Junction คือ ช่องทางสำหรับเรียนออนไลน์ในการเรียนสำหรับครูและนักเรียน ซึ่งมีแพลตฟอร์ม 3 รูปแบบ ได้แก่ NREOE, DIKSHA และ E-Pathshala โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ประกอบไปด้วยคลังการเรียนการสอนและเนื้อหาการเรียนออนไลน์ในรูปแบบ e-libraries, e-book, e-course รวมถึงโอกาสการเข้าร่วมสัมมนาและการประชุมออนไลน์
.
Swayam Prabha ช่องทางการเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์ เนื่องจากบางครอบครัวในอินเดียยังใช้โทรทัศน์รูปแบบเก่า
.
นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามจัดการเรียนการสอนให้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบาง อาทิ การทำงานร่วมกับ NGOs เพื่อสร้างเนื้อหาและสื่อการเรียนที่สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็น

 

ญี่ปุ่น

การจัดการศึกษาช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายในประเทศญี่ปุ่นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหลายประเทศ โดยนอกเหนือจากนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แล้ว ยังมีความพยายามในการดำเนินนโยบายในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนระหว่างภาคการศึกษา อาทิ กระทรวงศึกษาธิการวัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือ Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology (MEXT) ได้รับงบประมาณ 18.9 ล้านเยน หรือประมาณ 170.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นเงินทุนฉุกเฉิน โดยบางส่วนถูกนำไปใช้เพื่อชดเชยค่าอาหารกลางวันให้กับโรงเรียน โดยบางโรงเรียนได้ทำการจัดส่งอาหารกลางวันให้กับครอบครัวต่างๆ เช่น รัฐบาลท้องถิ่นของโอซาก้าได้มีให้งบค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงช่วงปีงบประมาณ 2021 เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินให้แก่ครอบครัวในช่วงสถานการณ์โควิด
.
ในส่วนภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมากกว่า 100 แห่ง ได้ดำเนินตามมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เรียนที่ได้รับผลประทบจาก COVID-19 ผ่านทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือ เงินกู้ยืม รวมถึงความช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษาที่ต้องการอุปกรณ์สำหรับการเรียนแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ทาง MEXT แจกเงินสดจำนวน 200,000 เยน แก่ผู้ที่ประสบความยากลำบากในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ

 

เกาหลีใต้

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แต่ด้วยปัญหาต่างๆ ที่พบตามมา โดยเฉพาะความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์การเรียน ทำให้ทางกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ได้กำหนดแนวทางการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ใน 3 รูปแบบ เพื่อให้ทางโรงเรียนเลือกตามความเหมาะสม ได้แก่ การโต้ตอบแบบ Real-time ผ่าน Video conference การอัดวิดีโอเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนตามดูในภายหลัง และการมอบหมายงานในรูปแบบรายงานหรือ Project
.
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบด้านลบที่จะตามมาจากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ รัฐบาลเกาหลีใต้จึงจัดเตรียมบริการเพื่อยืมอุปกรณ์ดิจิทัลไปใช้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับนักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยและปราศจากอุปกรณ์ดิจิทัลจะถูดจัดลำดับในการยืมอุปกรณ์การเรียนจากโรงเรียนก่อน รวมถึงทางรัฐบาลยังให้การสนับสนุนครอบครัวที่มีรายได้น้อยในการติดตั้งบริการอินเทอร์เน็ตที่บ้าน พร้อมทั้งให้เงินสนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือนสำหรับจำนวน 17 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย Zero-Rating Policy

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย ภาณี จันทร

 

อ่านเพิ่มเติม:

https://www.bot.or.th/…/Documents/Measure_Foreign.pdf

https://www.thelocal.it/…/how-will-italy-schools-change

https://www.esha.org/…/schools-in-italy-in-covid19-time/

https://www.jagranjosh.com/…/list-of-digital-learning

https://edtechhub.org/…/how-india-responded-distance…/

https://www.csis.org/…/impact-covid-19-education

https://intpolicydigest.org/…/how-covid-19-has-been…/

https://brandinside.asia/korea-education-elementary…/

https://blogs.iadb.org/educacion/en/covid19southkorea/