Policy entrepreneurs : Who are these people? How do they succeed in forming and sustaining public policy?

Policy entrepreneurs :
Who are these people? How do they succeed in forming and sustaining public policy?
When it comes to the people behind the success of advocacy and policymaking, especially new policies or policy innovations, in the field of public policy these key actors known as policy entrepreneurs. In academic discussion, Dr. Pobsook Chamchong from Chiang Mai University School of Public Policy indicates that scholars tend to investigate who they are and how they play their roles only in the stage of policy formation.
When you perceive them as entrepreneurs, similar to any business owner, however, Pobsook argues that their roles are not exclusive solely to agenda-setting stage. Rather, we need to examine the way in which they can drive forward a policy after already succeeded in forming it. Essentially, insightful understanding of a policy is unlikely to be derived by separating it into neat stages. Rather, rich and nuanced insight of a policy and policy entrepreneurs’ roles is to be gained by analysing through their landscape.
Pobsook conducted Thai case studies to illustrate the roles of mayors as policy entrepreneurs in the successful initiation and implementation of policy innovation, i.e. inter-local collaboration policy at local level in Thailand. It has been pointed out that socio-cultural condition has a significant influence on local policy and policy entrepreneurs’ actions. The hierarchical social system – the brotherhood relationship embedded in key actors’ perceptions and the local government system – assisted inter-local collaboration policy to arise in Thai context. By exploiting this cultural norm together with playing effective roles in social acuity, defining problems, building teams, and leading by examples, these enabled mayors to successfully elevate inter-local collaboration agenda to become policy and maintain partners’ contributions to their collaborative working.
Key messages
“When the policy entrepreneur can be perceived as a business owner, to gain understanding only about how they successfully form a policy is insufficient. Rather, a high attempt should be made to derive the valuable insights into what they do, what kind of skills they use and in what context they face in order that such policy can be sustained and driven forward”
ผู้ประกอบการนโยบาย (Policy entrepreneurs): เขาคือใคร? เขาทำอย่างไรให้ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้สำเร็จ?
เมื่อพูดถึงผู้อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จในการผลักดันและการสร้างนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายใหม่ๆ หรือนวัตกรรมเชิงนโยบาย ศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะเราเรียกตัวแสดงสำคัญทางนโยบายนี้ว่า “ผู้ประกอบการนโยบาย (Policy entrepreneurs)” ซึ่ง ดร.พบสุข ช่ำชอง สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายให้ฟังว่า ในแวดวงวิชาการมักจะศึกษาแค่ว่าพวกเขาเหล่านี้เป็นใครและแสดงบทบาทอย่างไรใน ‘การสร้างนโยบาย’ ให้สำเร็จ
ทว่า เมื่อมองว่าพวกเขาเป็น ‘ผู้ประกอบการ’ เช่นเดียวกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ ดร.พบสุขเสนอว่าต้องทำความเข้าใจบทบาทพวกเขาไปไกลกว่านั้น นั่นคือ แล้วเขาทำอะไร ทำอย่างไร ใช้ทักษะแบบไหน ในการสานฝันให้นโยบายที่ได้สร้างขึ้นนั้นขับเคลื่อนไปต่อได้อย่างต่อเนื่อง หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือต้องเลิกมองและทำความเข้าใจนโยบายแบบเป็นขั้นตอนแยกส่วน ทว่าต้องมองนโยบายแบบภูมิทัศน์ในภาพรวม (policy landscape)
งานของ ดร.พบสุขได้ฉายให้เห็นถึงความสำเร็จของผู้ประกอบการนโยบายในระดับท้องถิ่นของไทย ในการผลักดันให้ ‘การจัดบริการสาธารณะร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Inter-local collaboration)’ กลายเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายและขับเคลื่อนมาได้ดีอย่างต่อเนื่องในกรณีศึกษา โดยชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่าบริบท (context) ของแต่ละสังคม/พื้นที่ ก็ส่งผลต่อความสำเร็จของนโยบายไม่น้อย ดังเช่นกรณีของไทยที่มิติด้านสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural dimension) ในเรื่องความสัมพันธ์แบบพี่น้องทั้งที่ฝังอยู่ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ควบคู่กับการใช้ทักษะในการมีความหลักแหลมที่จะเข้าใจผู้อื่น เข้าใจบริบท และแรงจูงใจต่างๆ (Social acuity) การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา (Defining problem) การสร้างทีม (Building teams) และการมีภาวะผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดี (Leading by example) ได้ช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเปิดหน้าต่างนโยบาย (policy window) และรักษาความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับผู้ต้องการศึกษาเพิ่มเติม โปรดอ่าน:
For insightful discussion please read:
Chamchong, P. (2020). Cultural Norms and Policy Entrepreneurship. In M. Mintrom, D. Maurya, and A. Jingwei He (Eds.), Policy Entrepreneurship: An Asian Perspective (pp.45-59). London:Routledge