งานสัมมนาสร้างความตระหนักถึงการรับรู้อันตรายของปัญหาหมอกควันเพื่อให้เข้าถึงทุกกลุ่มการรับรู้

We cannot stop natural disaster but we can arm ourselves with knowledge and
innovation

As climate change intensifies, we can observe differently types of natural and man-made disasters in Asia. This ranges from earthquake, flood, draught, typhoon, tsunami, to haze, which is a serious transboundary air pollution problem for most of Asia Pacific and Southeast Asia. In 2014 all ASEAN member states have ratified the ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution (AATHP). To achieve such ambitious goal, there needs to be continuously streams of deliberative platforms for sharing good ideas for innovation, technology, and social solutions to govern such complex phenomenon as disasters and haze.

The event will have six speakers all focusing on certain aspects of disaster management or governance. This includes innovative use of technology, interesting policies and practices, and emerging trends of disaster relief.

โครงการวิจัยเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน (Haze Free Country Network in Upper ASEAN) เป็นโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนวิจัยประเทศไทยไร้หมอกควัน (Haze Free Thailand) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมด้วยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติทางด้านการจัดการและป้องกันปัญหาภัยพิบัติและหมอกควัน ASEAN 2020 : Managing Disasters & Haze ขึ้น ในวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562 ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความตระหนักเชิง Social Impact ในการรับรู้ปัญหาหมอกควันและภัยพิบัติ รวมทั้งสร้างเครือข่ายการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนกับทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งภายในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 100 คน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และไทยอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการป้องกันและกำจัดปัญหาดังกล่าวในรูปแบบ TED Talk อีกทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติและหมอกควันอย่างเหมาะสมไว้ภายในงานอีกด้วย

โครงการวิจัยเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบนนี้เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่สอง ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นงานดังกล่าว ทางโครงการฯ มีโนบายในการพัฒนาและสารต่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันระดับอาเซียนเพื่อต่อยอดการดาเนินงานในปีที่สาม โดยมุ่งเน้นการสำรวจและนาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการปัญหาภัยพิบัติและหมอกควันทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ประเด็นสำคัญสำหรับแนวทางในการจัดกิจกรรม การรับมือปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบนของไทยที่ผ่านมาอาจจะยังมองข้ามความสลับซับซ้อนของปัญหาไปในหลายแง่มุม จากที่มีฐานคติในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่สำคัญคือ ปัญหาหมอกควันเกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของเกษตรกรในชนบทแต่ส่งผลกระทบมาสู่เมือง นโยบายหลักจึงมุ่งไปที่การห้ามเผาโดยกำหนดบทลงโทษต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่ฝ่าฝืนกับอีกประการหนึ่งคือการมุ่งปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของเกษตรกรให้ไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดหมอกควันโดยเฉพาะการทำให้เลิกปลูกข้าวโพด รวมไปถึงการส่งเสริมมาตรการต่างๆ ในการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพของคนเมืองนโยบายเหล่านี้จึงขาดความอ่อนไหวในมิติเรื่องความเหลื่อมล้ำในหลายประการ

ประการแรก (1) การขาดความอ่อนไหวต่อความเหลื่อมล้ำและเป็นธรรมระหว่างเมืองกับชนบท (Spatial inequality) จากที่มาตรการต่างๆ ที่มุ่งเน้นนั้นอยู่บนฐานของการตำหนิ (blame) ภาคชนบทในขณะที่ภาคเมืองเองก็สร้างมลภาวะทางอากาศเช่นกัน โดยเฉพาะภาคการขนส่งในเมืองที่มีสนามบินอยู่ในใจกลางเมืองและมีเที่ยวบินขึ้นลงหลายเที่ยวต่อวันรวมถึงมลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อมไปสู่

ประการที่สอง (2) คือ ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ (Knowledge inequality) กล่าวคือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เช่น Hotspot และดัชนีวัดค่าต่างๆ) นำเพียงอย่างเดียวนำไปสู่การละเลยความรู้ทางสังคม นั่นคือความรู้ที่อยู่บนฐานของการอยู่ร่วมกันโดยการขาดความรู้ทางสังคมดังกล่าวทำให้นโยบายที่มาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนำไปสู่ความคับข้องใจระหว่างคนเมืองกับคนชนบททั้งที่ทุกฝ่ายล้วนมีส่วนในการสร้างปัญหาหมอกควันด้วยกันทั้งนั้น มโนทัศน์เรื่องความเป็นปัญหาร่วมจึงไม่เกิด หากแต่เกิดการชี้หน้ากันว่านี้เป็นปัญหาที่ “เธอ” สร้างแล้วกระทบมาถึง “ฉัน”

ประการที่สาม (3) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic inequality) ซ่อนอยู่ในการแก้ปัญหาที่ผ่านมา กล่าวคือ ภาครัฐให้ความสำคัญเป็นพิเศษไปยังการปกป้องเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของเมืองโดยทึกทักว่าชาวบ้านในชนบทสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ไม่ก่อหมอกควันหรือแม้แต่เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นที่อยู่นอกภาคการเกษตรได้ไม่ยาก ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในภาคชนบทนับว่าเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความเปราะบางในเชิงเศรษฐกิจครัวเรือน ไม่นับรวมไปถึงมิติของสภาพจิตใจ ดังมีกรณีที่มีการผูกคอตายหลายรายและมีแม้แต่ชาวบ้านที่ขู่เผาตนเองต่อหน้านายอำเภอหากเขาจะต้องถูกห้ามไม่ให้เผา จากที่โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีพื้นที่ทำกิน 30-50 ไร่ โดยอาศัยแรงงานครอบครัวเพียง 2-3 คน และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงจนปัญญาที่จะใช้วิธีอย่างอื่นจะให้รับจ้างขนฟาง/ซังออกไปก็มีค่าขนส่งที่สูง รวมไปถึง
ประเด็นเรื่องของการเสนอให้มีการป้องกันตัวเองโดยขาดความอ่อนไหวต่อข้อเท็จจริงที่การป้องกันตัวเองในกลุ่มเปาะบางนั้นไม่ง่ายเลย กล่าวคือผู้มีรายได้น้อยย่อมไม่สามารถหาซื้อหน้ากากคุณภาพสูงและต้องเปลี่ยนในทุก 2-3 วันได้ย่อมมีทางเลือกในการหลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงได้น้อยกว่า ย่อมขาดโอกาสที่จะอยู่ในที่อยู่อาศัยที่ปิดมิดชิดแล้วเปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีกำลังซื้อเครื่องกรองอากาศในราคาตลา

ประการต่อมา (4) นโยบายภาครัฐขาดความอ่อนไหวต่อความเหลื่อมล้ำในเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental inequality) กล่าวคือ ภาครัฐมองเห็นแต่ “คน” ที่เป็นผู้สร้างปัญหามองไม่เห็นภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นซึ่งนำไปสู่ไฟป่าซึ่งเป็นเรื่องของคนเมือง เป็นเรื่องของคนชนบทและเป็นเรื่องของคนในประเทศเพื่อนบ้านไม่ต่างกัน เช่น ความกดอากาศที่ต่ำมากจนนำไปสู่การสะสมหมอกควันที่ระบายออกไม่ได้ อากาศที่ร้อนจนใบไม้แห้งที่ล่วงลงดินเกิดการเผาไหม้ได้เอง ฝนที่ไม่ยอมตกลงมาซะล้างหมอกควัน หรือลมที่พัดหมอกควันมาสุมกันแต่ไม่ระบายออกไปต่อ ดังมีข้อค้นพบจากโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันว่ามาตรการในการควบคุมคนชนบทไม่ให้เผาซังข้าวโพดนั้นได้ผลเป็นอย่างดี ทว่า หมอกควันในต้นปี 2561 กลับทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ประการสุดท้าย (5) ความเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรม (Cultural inequality) แทบจะถูกมองข้ามไปอย่างสิ้นเชิง ภาครัฐรวมถึงคนเมืองโดยทั่วไปมักจะยอมรับไม่ได้กับข้ออ้างที่ว่าการเผาหลังการเก็บเกี่ยวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีปฏิบัติที่เกษตรกรดำเนินการมาโดยตลอดจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมา ทั้งๆ ที่หากคนเมืองต้องปรับวัฒนธรรมในการบริโภคที่ลดการปล่อยมลภาวะ คนเมืองก็จะรู้สึกว่ายากเช่นกัน เช่น การลดการขับรถยนต์ส่วนบุคคล การลดการเดินห้างสรรพสินค้าที่ใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การลดการบริโภคอาหารปิ้งย่างต่างๆ ที่มีอยู่ทุกซอกทุกมุมในเมือง ทั้งนี้ มุมมองเช่นนี้ไม่ได้มุ่งปกป้องวิถีชีวิตของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่ชี้ชวนให้คำนึงถึงความเป็นธรรมที่ทุกคนควรมีหน้าที่ในการปรับวิถีชีวิตด้วยกันทั้งนั้น