How "design" matters in policy communication

หลายคนอาจจะมองว่างานออกแบบเป็นเรื่องของภาคเอกชน ออกแบบเพื่อการโฆษณา การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ในโลกของนโยบายสาธารณะก็ต้องการงานออกแบบเช่นเดียวกัน วันนี้คุณนิรัติกร แสงดี Creative director จากสถาบันนโยบายสาธารณะ มช. จะมาแลกเปลี่ยนว่างานออกแบบสามารถช่วยยกระดับการสื่อสารนโยบายสาธารณะได้อย่างไร
.
คุณนิรัติกร ได้ให้มุมมองว่า การออกแบบเพื่อการสื่อสารนโยบายในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แค่ยังไม่ได้แพร่หลาย ทุกนโยบายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีการออกแบบอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีช่องว่างอยู่ คือ ที่ผ่านมามีการ design แต่ไม่ redesign โดยมักใช้ดีไซน์เดิมในบริบทที่เปลี่ยนไป….ด้วยเหตุนี้ทีมงานฝ่ายออกแบบของสถาบันฯ (Inclusive & Innovative Creative Unit) จึงยึดแนวคิดหลักในการดำเนินงาน 5 แนวคิด ที่จะทำให้งานออกแบบนั้นสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารนโยบายสาธารณะออกไปให้ไกลที่สุด ซึ่งประกอบด้วย
1) Hyper customization: งานดีไซน์นั้นจะต้องสามารถเปลี่ยนไปตามนโยบายต่างๆได้ ต้องไม่ใช่แค่การ Copy/Paste ในบริบทที่ต่างกันแต่เอามาเรียนรู้กันได้ หรือก็คือ Tailor-made
2) Design thinking: การมองเรื่องของ empathy UX/UI มองเรื่องของความรู้สึกของคน ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขาจะได้รับ
3) Future thinking: คิดนอกกรอบแต่ไม่ได้เพ้อฝัน คิดความเป็นไปได้อื่นๆ
4) Complexity thinking: งานดีไซน์สามารถปรับแก้ยืดหยุ่นได้ (resilience) มองว่าแต่ละปัญหาแต่ละนโยบายมีความซับซ้อนที่ต่างกันออกไป
5) Deliberative process: ใช้เรื่องของการปรึกษาหารือเสมอในการคิดเรื่องการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
.
ทั้งนี้คุณนิรัติกรได้ทิ้งท้ายว่า “Perception” ของคนเหมือนวิทยุที่มีคลื่นแตกต่างกัน ดังนั้น การออกแบบเพื่อการสื่อสารนโยบายก็เป็นนวัตกรรมที่เปรียบเสมือน Adapter ที่จะสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลเดียวกันให้คลื่นของประชาชนทั่วไปรวมถึงคลื่นของผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเข้าใจตรงกัน”
.
เรียบเรียงโดย ณฐกร สว่างแจ้ง

